Fading and Remembering (Maps)

ลบเลือนและจดจำ (แผนที่)
2022
HOME / RECENT WORK / Fading and RememberingMaps

Fading and Remembering (Maps)

The work “Fading and Remembering (Maps)” consists of three main parts. The first part consists of two drawing images on two blackboards. The first image is a portrait of Claudius Ptolemy, a Roman scholar living in the 2nd century. The second image represents the map of Southeast Asia, or Suvarnabhumi, extracted and taken from the world map illustrated by Ptolemy who is the one I have been committed to interpret in this exhibition.

Both images were almost entirely wiped off the blackboard, leaving merely slight traces. The dust has been kept in glass vials. These are metaphorically traces and dust of memory which have been going through a long period time.

The second part is a video clip consisting of three moments. The first moment contains interviews with people asking if they know the map of Suvarnabhumi illustrated by Ptolemy. The second moment is an interview with Chawalit Khaokhiew, the Dean of the Faculty of Archaeology, Silpakorn University, where he tells about the history and explains the importance of the map. The third moment shows the drawing and erasing processes of the two drawing images. This second part will help the audience increasingly understand and see the roles of the two images.

Still image from video, detail of Fading and Remembering (Maps)

A blackboard on a black wall, Tabula Asiae XI (Ptolemy’s Southeast Asia Map), detail of Fading and Remembering (Maps)

A blackboard on a black wall, Claudius Ptolemy, detail of Fading and Remembering (Maps)

ในผลงานที่มีชื่อว่า “ลบเลือนและจดจำ (แผนที่)” ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกคือ ภาพเขียนบนกระดานดำ 2 ภาพ ภาพแรกเป็นภาพเหมือนของ คลอดิอุส ปโตเลมี ปราชญ์โรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 2 

และภาพที่ 2 เป็นภาพแผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ ที่ถูกตัดตอนและคัดลอกมาจากต้นฉบับแผนที่โลก ที่เขียนขึ้นโดย ปโตเลมี ซึ่งเป็นโจทย์ที่ผมได้รับให้มาตีความในนิทรรศการครั้งนี้ 

ภาพเขียนทั้ง 2 ภาพนี้ถูกลบจนเหลือแค่ร่องรอยจางๆ บนกระดานดำ และฝุ่นชอล์ก ที่เก็บรักษาไว้ในขวดแก้ว เปรียบได้กับร่องรอยและฝุ่นละอองของความทรงจำ ที่ผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน

ส่วนที่ 2 คือ ส่วนที่เป็นวิดีโอ ช่วงแรกเป็นการสัมภาษณ์คนทั่วไปว่ารู้จักแผนที่สุวรรณภูมิที่เขียนโดยปโตเลมีหรือไม่ และช่วงที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว คณบดีคณะโบราณคดี ที่อธิบายว่าแผนที่ปโตเลมี มีความเป็นมาและมีความสำคัญอย่างไร ช่วงที่ 3 เป็นภาพวิดีโอที่บันทึกการเขียนและลบภาพบนกระดานดำทั้ง 2 ภาพ วิดีโอในส่วนที่ 2 จะทำให้คนดูเข้าใจและเห็นความสำคัญของภาพบนกระดานดำที่ถูกเขียนและลบเลือนหายไปมากขึ้น

ส่วนที่ 3 คือ ภาพเขียนบนผนังห้องนิทรรศการขนาดใหญ่ 2 ผนัง ในภาพเขียนบนผนังสีดำที่เป็นดั่งกระดานดำขนาดใหญ่นี้ ผมได้นำเสนอแผนที่โลกหลายยุคหลายสมัยคละเคล้าปะปนกัน ในแบบเดียวกับความทรงจำของมนุษย์ มีตั้งแต่แผนที่ของเมืองอเล็กซานเดรีย ที่เป็นที่พำนักของปโตเลมี, แผนที่เส้นทางการค้าเครื่องเทศ, เส้นทางสายไหม, เส้นทางเดินเรือของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส, แผนที่อาณาเขตเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจ, แผนที่ที่ปรากฎในสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีต เช่น การ์ตูนวิจารณ์ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

ภาพจากภาพประกอบโบราณที่แสดงถึงความขัดแย้งและสงครามแย่งชิงดินแดนและผลประโยชน์, ภาพและถ้อยคำที่บ่งบอกถึงแนวความคิดแบบลัทธิจักรวรรดินิยมที่มีมาทุกยุคทุกสมัย, แผนที่เส้นทางการค้าทาส ที่โยงไปถึงการทำการค้าข้ามชาติข้ามทวีปและระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจ เช่น กาแฟ ยาสูบน้ำตาล แร่ ฝ้าย และข้าว ซึ่งแรงงานทาสเป็นกำลังสำคัญในการช่วยสร้างความมั่งคั่งให้แก่มหาอำนาจจักรวรรดินิยม

ในผลงานชิ้นนี้ นอกจากจะนำเสนอร่องรอยของความทรงจำและการลืมเลือนแล้ว

ยังแสดงถึงแผนที่ ที่มีบทบาทในการกำหนดพรมแดน อาณาเขตตำแหน่งแห่งที่ อัตลักษณ์และตัวตนของอาณาจักรและประเทศชาติ

Still image from video, detail of Fading and Remembering (Maps)

แผนที่จะมีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์หรือทำลาย ขึ้นอยู่กับคนที่นำไปใช้ นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่

ปโตเลมีได้เขียนแผนที่โลกขึ้นมามันนำไปสู่การสำรวจโลกของมหาอำนาจตะวันตก เกิดการเชื่อมโลกในมิติของการเผยแพร่ศาสนา การแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรม และที่เลวร้ายคือ การค้าทาส และการล่าเมืองขึ้นของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม

Installation view of Fading and Remembering (Maps), 2022