Conceal (Maps, Boundary, Camouflage and Power)

พราง (แผนที่ เขตแดน ลายพราง และอำนาจ)
2024
HOME / RECENT WORK / Conceal (Maps, Boundary, Ca...

Conceal (Maps, Boundary, Camouflage and Power)

พราง (แผนที่ เขตแดน ลายพราง และอำนาจ)
Conceal (Maps, Boundary, Camouflage and Power)

Installation view of 4 di-cut maps in Conceal series

พราง เป็นการนำเสนอประเด็นการแย่งชิงพื้นที่ ทั้งที่ปรากฏให้เห็นทางกายภาพบนเขตแดนในแผนที่ และการแย่งชิงอำนาจนำในพื้นที่ทางความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรม ที่นำมาซึ่งความขัดแย้ง และความรุนแรงทั้งภายในไทยและเกือบทั่วโลก ดังที่ประจักษ์อยู่ในร่องรอยของสัญลักษณ์ทางสังคม/การเมือง เช่น สีสันที่เป็นตัวแทนของอุดมการณ์ทางการเมือง และลายพรางในการทหาร

พราง จะนำผู้ชมย้อนกลับไปทบทวนบรรยากาศของสงครามเย็นครั้งแรกที่เริ่มขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงเวลาที่ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านต้องต่อสู้ดิ้นรนอยู่ท่ามกลางสมรภูมิความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วมหาอำนาจ นั่นคือ ขั้วทุนนิยม/เสรีประชาธิปไตย กับขั้วสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ โดยที่รัฐไทยเข้าร่วมกับฝ่ายทุนนิยม/เสรีประชาธิปไตยที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ERDL Pattern ลายพรางสำหรับชุดทหารที่ออกแบบโดยสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรมและการทหารที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ไทย

นอกจากนั้นแล้ว พราง จะนำผู้ชมสำรวจตรวจสอบสงครามเย็นครั้งที่ 2 ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แผนที่โลกในรูปของลายพรางทางการทหาร แสดงถึงสภาวะตึงเครียดทางการเมืองและการทหารระหว่าง 2 ขั้วตรงข้ามในทางภูมิรัฐศาสตร์ นั่นคือ ระหว่างขั้วที่นำโดย จีนและรัสเซีย กับ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในตะวันตก 

ความขัดแย้งระหว่าง ‘ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน/ตะวันตก’ กับ ‘ประชาธิปไตยแบบจีน/รัสเซีย’ ถูกย่อจำลองลงมาคล้ายคลึงกับการแย่งชิงอำนาจนำในสังคมไทย ระหว่างกลุ่มข้าราชการ ทหารฝ่ายความมั่นคง อนุรักษ์นิยม-รอยัลลิสม์ กับประชาธิปไตยแบบทุนเสรีนิยม และเสรีนิยมแบบนีโอ-มาร์กซิส หรือซ้ายใหม่ แต่ละกลุ่มมีการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น เช่น การกำหนดสีประจำกลุ่ม อาทิ สีเหลือง แดง และส้ม แต่ละสีเป็นตัวแทนของกลุ่มบุคคลและกลุ่มการเมืองที่ต้องการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยในแบบที่ตนต้องการ พวกเขาเหล่านั้น ทำทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งวิธีการแบบเปิดเผย ก้าวร้าว ตรงไปตรงมา และแบบแทรกซึมอำพราง ราวกับการพรางเพื่อการหลบซ่อน ซุ่มโจมตี ไล่ล่า และประจัญบานในสมรภูมิรบ

Conceal presents the issue of territorial disputes, visible both physically along borderlines on maps and on the ideological and cultural power struggles within the realm of thoughts, beliefs, and cultures. This leads to conflicts and violence, both within Thailand and globally, as evidenced in some societal/political symbols such as the use of colors to represent political ideologies and concealment military.

Conceal will guide audiences back to revisit the atmosphere of the Cold War, which began after World War II. During this period Thailand and her neighboring countries struggled amidst the geopolitical conflict between two superpowers: the capitalist/democratic and the socialist/communist. Thailand aligned with the capitalist/democratic led by the United States, adopting the ERDL Pattern as a camouflage for military uniforms designed by the U.S. This is one of the cultural and military legacies that the United States has bestowed upon Thailand.

Moreover, Conceal will allow audiences to examine the ongoing Second Cold War, depicted through military camouflage maps of the world, showcasing the tense political and military situations between the two opposing blocs in geopolitics: China and Russia versus the United States and Western countries. The conflict between ‘American/Western-style democracy’ and ‘Chinese/Russian-style democracy’ has reflect on Thailand’s struggles between the bureaucratic-military-security-royalist conservative and the liberal democratic and neo-Marxist/New Left. Each camp has developed its distinct iconography, most notably the color-coded affiliations of yellow, red and orange, representing different factions and political movements seeking to shape Thailand’s democratic future. These different factions have employed tactics ranging from open confrontation to more covert, camouflage-like strategies of infiltration, ambush, pursuit and occupation of physical and ideological territory.

ประเทศไทยลายพรางสีเหลือง, 2566 Yellow Camouflage Thailand, 2023 Acrylic on Linen-Cotton Canvas on Plastwood, 229 x 124.5 x 2.5 cm.
Installation view of Yellow Camouflage Thailand in the exhibition
ประเทศไทยลายพรางสีแดง, 2566 Red Camouflage Thailand, 2023 Acrylic on Linen-Cotton Canvas on Plastwood, 229 x 124.5 x 2.5 cm.
Installation view of Red Camouflage Thailand in the exhibition
ประเทศไทยลายพรางสีส้ม, 2566 Orange Camouflage Thailand, 2023 Acrylic on Linen-Cotton Canvas on Plastwood, 229 x 124.5 x 2.5 cm.
Installation view of Orange Camouflage Thailand in the exhibition
ประเทศไทยลายอีอาร์ดีแอล (สงครามเย็น), 2567 Thailand in ERDL Pattern (Cold War), 2024 Acrylic on Linen-Cotton Canvas on Plastwood, 229 x 124.5 x 2.5 cm.
Installation view of Thailand in ERDL Pattern (Cold War) in the exhibition

Camouflage (Thailand and Her Neighbors) No.2, 2023 Acrylic on linen, 170 x 120 cm.

ลายพราง (ประเทศไทยและเพื่อนบ้าน) หมายเลข 2, 2566 สีอะคริลิคบนลินิน, 170 x 120 ซม.

สงครามเย็นที่เริ่มจากโลกตะวันตกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลมาถึงสงครามเวียดนาม (ระหว่าง ค.ศ. 1955 ถึง 1975) และนำไปสู่ความตึงเครียดด้านความมั่นคงทั้งในประเทศไทย ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในผลงานชื่อ ลายพราง (ประเทศไทยและเพื่อนบ้าน) (ชิ้นแรกเขียนขึ้นใน พ.ศ. 2565 และหมายเลข 2 ใน พ.ศ. 2566) ได้อ้างอิงและดัดแปลงจากลายพรางที่ชื่อ ERDL pattern (ERDL คือชื่อย่อของ Engineer Research & Development Laboratories หน่วยงานที่ออกแบบลายพรางดังกล่าวให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกา) ลายพรางลายนี้กำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1948 แต่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็นลายเสื้อทหารของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามเมื่อต้น ค.ศ. 1967 ลายพราง ERDL pattern ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบทบาทสำคัญทางการทหารและการจัดการความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และอีกหลายประเทศทั่วโลก 

การที่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านคัดลอกแบบทั้งสีสันและลวดลายของ ERDL pattern  จากสหรัฐอเมริกา มาใช้ในชุดทหารของตนเอง คือ ส่วนหนึ่งของ ‘กระบวนการทำให้เป็นอเมริกัน’ ที่ปรากฏอยู่ในทุกกระบวนทัศน์ของการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข ศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งการคัดลอกดังกล่าว บางส่วนคือ ความสมัครใจที่จะทำตามของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และอีกหลายส่วนคือการครอบงำที่สหรัฐอเมริกาในนามของโลกเสรี ยัดเยียดให้กับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนั้นแล้ว ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีประวัติยาวนานในเรื่องความขัดแย้งทางการทหารและความมั่นคง ทั้งภายในและระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ต่อมาภายในประเทศและระหว่างประเทศ ‘ลายพราง/ลายทหาร’ จึงเป็นการบ่งบอกถึงบรรยากาศของแต่ละประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ อีกด้วย

แผนที่ที่แสดงอาณาเขตของแต่ละประเทศได้กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ แผนที่ได้กลายเป็นความจริงทางการเมืองของแต่ละประเทศ เป็นความจริงทางรูปธรรมของแต่ละประเทศที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรม การสถาปนาประเทศแต่ละประเทศล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นจากการรวบรวมอาณาจักรและชุมชนต่าง ๆ ที่เก่าแก่และหลากหลาย ความเป็นมา/ความเป็นไปของแผนที่และเขตแดนที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย การอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้คน การสูญเสียและการขยายดินแดนของอาณาจักรและประเทศชาติในช่วงเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทำให้พรมแดนของประเทศชาติ ชุมชนและชาติพันธุ์ต่าง ๆ มีความแปรผันและเลื่อนไหล ยากที่จะขีดเส้นกำหนดให้จะแจ้งตายตัว ดุจดั่งการเขียนแผนที่ในลายพราง ที่มีทั้งความทับซ้อน พรางตา คลุมเครือ บ้างก็เปิดเผย และบ้างก็แอบแฝงอย่างมิดชิด

Camouflage (Thailand and Her Neighbors), is a reference to ERDL Pattern of camouflage. It was used in the production of United States military uniform in the Vietnam War, since early 1967. The fact that Thailand and neighboring countries have copied both the colors and patterns of the ERDL Pattern from the US as part of the ‘Americanization’, which is presented in every paradigm of national development, including economic, political, military, education, public health, arts and cultures.

A map of each country’s territory has become a symbol of national identity. Each country was formed by the merging of kingdoms and diverse communities. The background or possibility of maps as well as boundaries that pass through many eras can demonstrate the immigration, losing, and gaining of territories over hundreds of years. This makes the borders of the nations, communities, and ethnicities vary and flow, making it difficult to separate. It is like camouflage cartography, with complexity and ambiguity, some revealing and some secretive.

ระเบียบโลกใหม่ 2567, 2567 The New World Order 2024, 2024 Acrylic on linen canvas on plastwood, 80 x 120 cm.
ระเบียบโลกใหม่ 2567, 2567 (ภาพถ่ายผลงานที่ติดตั้งในนิทรรศการ) The New World Order 2024, 2024 (installation view) Acrylic on linen canvas on plastwood, 6 panels, 80 x 120 cm. each.
Installation view of Conceal exhibition.